วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติเเละความสำคัญของพระพุทธศาสนา


ความหมายของคำว่าการศึกษา
                         คำว่า “การศึกษา” มาจากคำว่า “สิกขา” โดยทั่วไปหมายถึง “กระบวนการเรียน “ “การฝึกอบรม” “การค้นคว้า” “การพัฒนาการ” และ “การรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งปวง” จะเห็นได้ว่า การศึกษาในพระพุทธศาสนามีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับต่ำสุดถึงระดับสูงสุด เมื่อแบ่งระดับอย่างกว้าง ๆ มี 2 ประการคือ
                         1. การศึกษาระดับโลกิยะ มีความมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตในทางโลก
                         2. การศึกษาระดับโลกุตระ มีความมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตเหนือกระแสโลก
  ในการศึกษาหรือการพัฒนาตามหลักพระพุทธศาสนา นั้น พระพุทธเจ้าสอนให้คนได้พัฒนาอยู่ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านศีล ด้านจิตใจ และด้านสติปัญญา โดยมีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง มิใช่เป็นคนดีแต่โง่ หรือเป็นคนเก่งแต่โกง การจะสอนให้มนุษย์เป็นคนดีและคนเก่งนั้น จะต้องมีหลักในการศึกษาที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งในการพัฒนามนุษย์นั้นพระพุทธศาสนามุ่งสร้างมนุษย์ให้เป็นคนดีก่อน แล้วจึงค่อยสร้างความเก่งทีหลัง นั่นคือสอนให้คนเรามีคุณธรรม ความดีงามก่อนแล้วจึงให้มีความรู้ความเข้าใจหรือสติปัญญาภายหลัง    
อ่านเพิ่มเติม
 

พุทธประวัติเเละชาดก

              ชาติตระกูล  มีพระนามเดิมว่า “สิทธัตถะ” เป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับ”พระนางสิริมหามายา”  ประสูติ ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละ (ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่ โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันว่า จะได้ออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
หลังประสูติได้ 7 วัน พระมารดาสิ้นพระชนม์ จึงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี ทรงเล่าเรียนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลก คือ ศิลปศาสตร์ถึง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร  พระบิดาไม่ประสงค์ให้เป็นศาสดา จึงพยายามให้พบแต่ความสุขทางโลก เช่น สร้างปราสาท 3 ฤดู และเมื่ออายุ 16 ปี ได้ให้อภิเษกกับนางพิมพาหรือยโสธรา เมื่อมีพระชนมายุ 29 ปี พระนางพิมพาก็ให้ประสูติ ราหุล (บ่วง)

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเเละศาสนพิธี

  1.1 หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
               1) วันมาฆบูชา
               วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ คือ 1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ 2. พระภิกษุ1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3. ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ 4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น
          ในวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วางหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธองค์ไว้ ประการ คือ 1. ไม่ทำความชั่ว 2. การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม และ 3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
          หลักคำสอน ประการ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้อย่างนี้ถือเป็นธรรมนูญของพระสงฆ์ใน การยึดถือปฏิบัติต่อไป

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์พระพุทธ     คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตามพระธรรม     คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพระสงฆ์     คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม
อ่านเพิ่มเติม

พระไตรปิฎกเเละพุทธศาสนสุภาษิต

ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก

          พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท